เมื่อข้อไหล่ติด....จะทำอย่างไรดี?

เคยมั้ยครับที่เอื้อมแขนไปหยิบของแล้วเจ็บแปล๊บที่ไหล่ หรือตื่นมายืดเส้นยืดสายแล้วรู้สึกเจ็บไหล่ หรือยกของหลายครั้งติดต่อกันจนปวดไหล่ หลาย ๆ คนอาจเคยสงสัยว่าทำไมจึงมีอาการปวดไหล่ขึ้นมา? แล้วทำไมถึงยกไหล่ได้ไม่สุด? หรือเราเป็นข้อไหล่ติดแล้วหรือไม่? แล้วเราจะป้องกันตนเองได้อย่างไรบ้าง?

ข้อไหล่ถือเป็นข้อต่อที่สำคัญต่อการทำกิจกรรมของแขนเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมหนัก ๆ อย่างยกของ แบกของ หรือกิจกรรมเบา ๆ อย่างเช่น กวาดบ้าน เอื้อมหยิบของ ก็ล้วนมีการทำงานของข้อไหล่ทั้งสิ้นครับ วันนี้พวกเราชาวกันยา จึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลข้อไหล่ โดยวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับภาวะที่อาจเกิดขึ้นกับข้อไหล่ของเราได้ นั่นก็คือ ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)


CnhFUQ.jpg


ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ (shoulder capsule) ทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และมีทำให้อาการปวดบริเวณข้อไหล่ ขณะเคลื่อนไหวด้วยตนเองหรือผู้อื่นขยับให้

จากงานวิจัยพบว่า ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติด แต่โดยส่วนมากมักเจอในกลุ่มดังนี้

กิจกรรมที่มีการใช้ข้อไหล่ซ้ำ ๆ ในระยะเวลานาน เช่น เช็ดกระจก กวาดบ้าน ถูบ้าน เป็นต้น

กิจกรรมที่ต้องยกแขนสูงกว่าระดับศีรษะ เช่น ยกของบนชั้นสูง ปัดฝุ่น

ภายหลังการถอดเฝือก บริเวณไหล่ แขน ศอก หรือมือ และ ภายหลังการผ่าตัดบริเวณทรวงอก (Thoracic surgery) เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดปอด ศัลยกรรมทรวงอก เป็นต้น ทำให้ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในระยะเวลานาน ทำให้มีการหดสั้นของเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้

ได้รับการกระแทกโดยตรง เช่น ถูกชนกระแทก ล้มกระแทก ทำให้เกิดการอักเสบของโครงสร้างบริเวณข้อไหล่

มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการซ่อมแซมและการฟื้นตัวของร่างกาย

-โรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน เนื่องมาจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มากขึ้นและการทรงท่าที่เปลี่ยนแปลงไป

CnhevN.jpg

ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยในแต่ละระยะจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป คือ

1.ระยะปวด (Painful/Freezing stage) มีอาการปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ และมีอาการปวดในเวลากลางคืน องศาการเคลื่อนไหวค่อย ๆ ลดลง

2.ระยะติด (Stiff/Frozen stage) อาการปวดลดลง ไม่รุนแรงเท่าระยะแรก แต่องศาการเคลื่อนไหวลดลงมาก พบมากในทิศหมุนไหล่ออกด้านนอก กางแขน และหมุนไหล่เข้าด้านใน ตามลำดับ

3.ระยะฟื้น (Recovery/Thawing) ในระยะนี้อาการปวดจะค่อย ๆ ลดลง และองศาการเคลื่อนไหวค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
ภาวะนี้สามารถหายเองได้ แต่ใช้ระเวลานานมาก และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ การรักษาทางกายภาพบำบัดมีส่วนช่วยควบคุมให้เกิดการฟื้นตัวได้ดี และให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำได้


Cnkdcg.jpg

หากเริ่มสงสัยว่าตนเองมีภาวะนี้เกิดขึ้นแล้วหรือไม่ สามารถสังเกตอาการด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ได้ดังนี้

> ในระยะแรกมีอาการบริเวณไหล่ เริ่มจากเจ็บเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ มีอาการมากขึ้น และอาจมีอาการปวดในเวลากลางคืน

ขยับข้อไหล่ได้ลำบาก และจำกัดการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น หวีผม สวมเสื้อ ล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลัง ติดตะขอเสื้อชั้นใน เอื้อมหยิบของ เป็นต้น โดยขณะทำกิจกรรมจะพบการยกไหล่ร่วมด้วย (Shoulder elevation) ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณคอบ่าร่วมด้วยได้

โดยท่าทางที่มักพบและส่งเสริมให้มีภาวะข้อไหล่ติด นั่นก็คือ หลังโก่ง (Thoracic hyperkyphosis) ไหล่ห่อ (Rounded shoulder) และคอยื่น (Forward head) อันเนื่องมากจากลักษณะการทำงานหรือการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวัน ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่า ไหล่ สะบัก หน้าอก และหลัง เกิดขึ้นได้ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวมาก่อน


CnkYT1.jpg


การดูแลและการรักษาทางกายภาพบำบัดในภาวะข้อไหล่ติด จะทำการรักษาตามระยะและอาการที่เกิดขึ้น โดยในระยะแรกจะเน้นควบคุมการอักเสบและลดอาการปวด จากนั้นจึงค่อยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ โดยการขยับข้อต่อ การใช้ท่าบริหารร่างกายเพื่อยืดและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้อไหล่ เช่น กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อสะบัก กล้ามเนื้อคอบ่า กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่และกล้ามเนื้อแขน นอกจากนี้แล้วยังฝึกการควบคุมการทำงานที่ถูกต้องของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ เพื่อให้เกิดการทำงานที่สมดุล และลดอัตราการเกิดภาวะข้อไหล่ติดซ้ำได้

แต่อย่างไรก็ตาม ท่าทางในการบริหารและดูแลข้อไหล่นั้น ควรปรึกษานักกายภาพบำบัด โดยการประเมินอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออาการ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำให้การดูแลตนเอง ท่าออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล

และหากสงสัยว่าจะมีอาการไหล่ติดหรือไม่ สามารปรึกษาอาการได้ก่อนเลยนะครับ ที่ Line @Kanyaptclinic
หรือคลิก https://lin.ee/wXXppdI
กันยาคลินิกกายภายภาพบำบัด เปิดให้บริการตามปกติทุกสาขา
ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับบริการทุกท่าน
https://www.facebook.com/143112369078822/posts/4173293832727302/?sfnsn=mo

โทรศัพท์ ติดต่อ
สาขาสิรินธร โทร 02-434-4111
สาขาเหม่งจ๋าย โทร 02-274-4471
สาขาอุดมสุข โทร 02-175-4944
สาขาซีเนียร์กันยา โทร 080-576-3334
สาขาพญาไท โทร 080-575-1108
สาขาประชาชื่น โทร 02-591-5915
www.kanyapt.com

กันยา คลินิกกายภาพบำบัด
“คุณภาพ คู่คุณธรรม เพื่อประชาชน”

#ปวดไหล่
#ไหล่ติด
#กายภาพบำบัด 

Credit
images by free.in.th