การดูแลร่างกายคุณแม่ให้มีน้ำนมเพียงพอต่อการเลี้ยงลูก
การดูแลร่างกายคุณแม่ให้มีน้ำนมเพียงพอต่อการเลี้ยงลูก
คุณแม่ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่ทุกบ้านจะสามารถมีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอต่อลูกน้อย เราจึงรวบรวมวิธีดูแลตนเองอย่างง่าย เพื่อให้คุณแม่สามารถมีน้ำนมได้เพียงพอ โดยแบ่งเป็นการเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนคลอด และการปฏิบัติตัวหลังคลอด
ก่อนคลอด
- กินอาหารให้เหมือนระยะตั้งครรภ์ แต่มีปริมาณพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลอรี่ต่อวัน และกินอาหารให้ครบคุณค่า คือ อาหารที่มีโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม โฟเลท ไอโอดีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีอยู่มากในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ ถั่ว งา ผักและผลไม้ เพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ และอาหารที่ทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น ไข่วันละ 1 ฟอง นมแบบไขมันต่ำ 3 แก้ว
- ตรวจสอบลักษณะหัวนมว่ามีความผิดปกติทางสรีระใดๆหรือไม่ เช่น หัวนมสั้น หัวนมบอด เพราะจะมีผลต่อการดูดของลูกน้อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ก่อนการคลอด
- ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอจะมีผลกับการผลิตน้ำนม คุณแม่ควรเตรียมวิธีผ่อนคลายหรือกิจกรรมคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองไว้ก่อน เพื่อช่วยในการจัดการกับอารมณ์ในช่วงหลังคลอด
หลังคลอด
- ดื่มน้ำมากๆวันละ 8แก้วหรือ2ลิตร เพราะนมมีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดี
- ฝึกให้ลูกเข้าเต้า เพราะการดูดของลูกน้อยจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Prolactin ซึ่งจำเป็นในการผลิตน้ำนม
- คุณแม่รู้วิธีการนวดกระตุ้นน้ำนมเบื้องต้นด้วยตนเองโดยการประคบอุ่นเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในเต้านม โดยเว้นผิวบอบบางรอบลานนม จากนั้น คลึงนวดเต้านมเบาๆจากฐานสู่ยอดหัวนมรอบๆเต้านม เพื่อให้ท่อน้ำนมมีความยืดหยุ่น
- ระหว่างการให้นม มีการเคลียเต้าที่ดีไม่ปล่อยให้มีนมค้างเต้า เพราะเป็นสาเหตุเต้านมอักเสบ จะกระทบต่อการผลิตน้ำนม
- การปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง สม่ำเสมอในช่วง 1-3 เดือนแรกสำคัญมาก เพราะจะทำให้ร่างกายคุณแม่คุ้นชินกับการผลิตน้ำนมอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าในช่วงแรกอาจมีน้ำนมออกมาน้อย ก็จะต้องปั๊มอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นร่างกายจะผลิตน้ำนมจนคัดเต้าอยากปั๊มออกเอง
- สามารถรับประทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่เพิ่มเติมเช่น ขิง หัวปลี หัวหอม ฟักทอง เป็นต้น
ทั้งนี้ ถ้าคุณแม่ท่านใดมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กันยาคลินิกกายภาพบำบัดทุกสาขา เรามีทีมช่วยสนับสนุนดูแลคุณแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงการดูแลหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ
References :
1) Victora CG, Aluísio JD, Barros AJD, França GVA, et al. (2016). Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet, 387, 475-490.
2) Hector, D., King, L., Webb, K., & Heywood, P. (2005). Factors affecting breastfeeding practices: Applying a conceptual framework. New South Wales Public Health Bulletin, 16(4), 52-55.
3) Chaiyawat, P. (n.d.). Breastfeeding & Physical Therapy updated. Intensive Course of Breastfeeding for Physical Therapy updated by Professor Dr. Pakaratee Chaiyawat, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University.
บทความโดย..
กภ.นฤมล สราญจิตร์ (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กันยาคลินิกกายภาพบำบัด สาขาอุดมสุข
ภาพประกอบโดย..
กภ.ธนพร เติมสุวรรณศักดิ์ (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กันยาคลินิกกายภาพบำบัด สาขาเจริญราษฎร์