บ้านปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้ม
บ้านปลอดภัย ไม่เสี่ยงล้ม
(โดย.. ชมรมผู้สูงอายุ กันยาคลินิกกายภาพบำบัด)
.
.
ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว การดำเนินชีวิตของประชากรย่อมต้องปรับตัวตามเช่นกัน บ้านซึ่งเป็นสถานที่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่สุดจึงเป็นปัจจัยที่พวกเราควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
.
จากสถิติการหกล้มของผู้สูงอายุ สถานที่เกิดอุบัติเหตุหกล้มที่มากที่สุดคือบริเวณบ้านของผู้สูงอายุนั่นเอง
.
ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราจะป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง?
.
.
วิธีการปรับบ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้ม เช่น
● การทำให้ขอบของสิ่งของ ธรณีประตู บันได ทางต่างระดับ เก้าอี้ โต๊ะ เตียง ชัดเจนมากขึ้น เช่นการเปลี่ยนสีโต๊ะและพื้นให้แตกต่างกัน การแปะเทปสะท้อนแสงบริเวณขอบบันได
● ลดสิ่งของที่วางเกะกะตามทางเดิน รวมถึงผ้าขี้ริ้วและพรมเช็ดเท้าที่ไม่มีปุ่มกันลื่น
● การเพิ่มราวจับบริเวณห้องน้ำ บันได ทางต่างระดับ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีที่พยุงตัวขณะเปลี่ยนท่าทาง
● เพิ่มความสว่างตามประตู บันได ทางเดิน ที่ใช้ประจำ โดยเฉพาะเวลากลางคืน เพื่อลดโอกาสสะดุด หกล้ม
● ปรับเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ของผู้สูงอายุให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ต่ำหรือสูงเกินไป รวมทั้งจัดเก็บสิ่งของที่มักใช้ประจำในบริเวณที่หยิบได้ง่าย ไม่ต้องก้มหรือเอื้อมเขย่ง
.
.
นอกจากการปรับบ้านซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้วนั้น ปัจจัยภายในตัวของผู้สูงอายุก็มีผลมากเช่นเดียวกัน
ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจประเมินสมรรถภาพทางร่างกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ ไม่ปวด ไม่ล้ม
บทความโดย..
กภ.พลอยณดา เนาว์นาน (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สาขาเหม่งจ๋าย
ภาพประกอบโดย..
กภ.ขนิฐา ปัญจกุล (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัด ระบบประสาท สาขาสิรินธร
อ้างอิง..
ชุมเขต แสงเจริญ, บ้านปลอดภัย ไม่เสี่ยง ล้ม, กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2563