ก้มเล่นมือถือ..เเล้วปวดคอ ปวดบ่า ทำยังไงดี?
ก้มคออ่านข้อความนี้อยู่หรือป่าวจ๊ะ?
ถ้าใช่... ปรับด่วน! ตอนนี้เลย!! ก่อนกระดูกคอจะเสื่อม
ผลเสียของการก้มคอนานๆ
- กล้ามเนื้อคอบ่าต้องทำงานมากกว่าปกติ จนเกิดการอักเสบ
- กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกบริเวณคอต้องรับน้ำหนักศีรษะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากระยะของศีรษะอยู่ห่างลำตัวมากขึ้น ทำให้อาจเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท หรือข้อต่อบริเวณคออักเสบ
- ส่งเสริมให้เกิดการนั่งหลังค่อมไหล่ห่อ กล้ามเนื้อหน้าอกด้านหน้าจึงตึงรั้ง หากสะสมเป็นเวลานานสามารถเกิดการกดทับเส้นประสาทที่ลงไปบริเวณแขนได้
- ส่งเสริมให้เกิดบุคลิกภาพที่ไม่ดี อาจกระทบต่อโครงสร้างต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ หรือการลงน้ำหนัก ทำให้เกิดความไม่สมดุลต่อๆไป
- อาจกระทบการหายใจ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลมมีประสิทธิภาพลดลง และซี่โครงขยายตัวได้ลำบากมากขึ้น
- เมื่อมีการกระทบการหายใจจะทำให้ออกซิเจนในร่างกายลดลง ส่งผลให้รู้สึกไม่สดชื่น หน้ามืดหรือเวียนศีรษะได้ง่าย และหากภาวะนี้เกิดสะสมเป็นเวลานานสามารถรบกวนการนอนหลับของเราได้
การปรับแก้เบื้องต้น
- มีที่ท้าวหรือรองแขนขณะถือโทรศัพท์ หากอยู่ในสถานที่ที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น โต๊ะ หรือหมอนรอง สามารถใช้การแขนข้างหนึ่งกอดอก เพื่อรองแขนข้างที่ใช้ถือโทรศัพท์ได้
- ปรับพฤติกรรมการติดนิสัยชอบมองหน้าจอใกล้ๆ หากมีปัญหาด้านสายตาควรใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมการยื่นหน้าไปใกล้ๆจอ
ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ ไม่ควรอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน เช่น
ลุกขึ้นยืนไปห้องน้ำ ไปดื่มน้ำ หรือนอนพัก เป็นต้น
เพื่อจะได้มีการขยับเคลื่อนไหวของร่างกาย และเเบ่งเบาภาระการใช้งานกล้ามเนื้อหรือข้อต่อให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช้งานซ้ำๆเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บในอนาคตค่ะ
.
บทความโดย
กภ.วัชรินทร์ ต่วนประสิทธิ์ (คลิกดูข้อมูล)
#ปวดคอ #หมอนรองกระดูก #กระดูกคอเสื่อม #ชาแขน #ปวดหัว #WFH #ปวดบ่า #ปวดไหล่ #อาจารย์ #ไหล่ห่อ #คอยื่น #ปรับสรีระ #กันยาคลินิก #กันยาคลินิกกายภาพบำบัด #กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพ #ประชาชื่น #กายภาพบำบัดประชาชื่น #กายภาสบางซื่อ #กายภาพงามวงศ์วาน #จตุจักร