"อาการอย่างไหนนะที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อน"
"อาการอย่างไหนนะที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อน"
ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน (HNP) มีอาการแสดงเกิดขึ้นได้หลายระดับตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยสาเหตุหลักมักมาจากท่าทางในการทำงานหรือการยกของที่มีน้ำหนักมากๆ ซึ่งทำให้เกิดแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนด้านหน้าครั้งละมากๆหรือบ่อยๆครั้ง จนทำให้เกิดแรงผลักหมอนรองกระดูกให้เคลื่อนที่ออกมาทางด้านหลังเกิดเป็นการอักเสบของตัวหมอนรองกระดูกเองรวมทั้งอาจกดทับรากประสาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย
เมื่อทราบที่มาของภาวะนี้กันแล้ว เรามาลองดูอาการที่อาจสงสัยว่าเรามีภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือไม่กัน
1) อาการปวดหลังหรือปวดหลังร้าวลงขา
2) อาการชาหรืออ่อนแรงบริเวณขาและเท้า
3) ก้มไม่ได้และยืดตัวขึ้นไม่สุด
4) เดินหรือยืนลงน้ำหนักที่ขา2ข้างไม่เท่ากัน
5) สะโพกเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่งขณะยืนเดิน
ทั้งนี้อาจมีอาการในข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งข้อร่วมกันก็ได้ โดยอาการทั้งหมดอาจจะกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นมากขึ้นได้จาก
- การนั่งเป็นเวลานาน
- การก้มตัวหรือการโน้มตัวมาข้างหน้า
- การออกแรงยกของที่มีน้ำหนัก
- การไอจามหรือเบ่งถ่าย
เบื้องต้นท่าทางที่สามารถลดแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลังลงได้ จะบรรเทาอาการหรือลดภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การเลี่ยงการยกของหนัก, การลดระยะเวลาการนั่งต่อเนื่อง, การนอนพัก เป็นต้น
หากมีอาการที่กล่าวไปข้างต้นหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแล้วการไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่าตนเองจะมีภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน สามารถตรวจประเมินอย่างละเอียดโดยนักกายภาพบำบัดเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนะนำการรักษาที่ถูกต้อง
บทความโดย กภ.ศิวัช ประมาณพล (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สาขาพญาไท
ภาพประกอบโดย กภ.ศุภกานต์ จุลละจินดา (คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สาขาสิรินธร