สูงวัย ไกลโรค ... เรื่องที่ทุกคนต้องรู้ก่อนแก่ >> ป้องกันความเสื่อม ป้องกันการล้ม <<




เมื่อคราวตอนเป็นเด็กคนเราก็อยากจะเป็นผู้ใหญ่ เมื่อคราวเป็นผู้ใหญ่ก็อยากจะกลับไปเป็นเด็ก แต่คง หลีกหนีความเป็นจริงตามธรรมชาติของการเกิด แก่ เจ็บ ตายไปไม่ได้ ที่นี้ก็จะเกิดคำถามว่าทำอย่างไรละ ที่จะไม่แก่ หรือทำอย่างไรถึงจะแข็งแรงยามเมื่อสูงวัยเมื่อยามสูงวัย


เมื่อยามสูงวัยร่างกายคนเราจะเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ตรงไหนที่ตึงก็กลับหย่อนคล้อยลง คงจะมีแต่หู ที่ตึงขึ้นเอาตึงขึ้นเอา ในความเป็นจริง 
ร่างกายของคนเราเริ่มมีความเสื่อมตั้งแต่อายุ 25-30 ปี โดยเป็นไปอย่างช้าๆ และเพิ่มเร็วขึ้นเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น 

เมื่ออายุสูงขึ้นร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่น ตาเริ่มมีความไวต่อแสงมากขึ้น สายตายาวขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ความยืดหยุ่นของร่างกายลดลง การทรงตัวแย่ลง ผิวหนังหย่อนคล้อย หูเริ่มได้ยินไม่ชัดแต่จะไวต่อเสียงแหลมมากขึ้นทำให้รู้สึกรำคาญและหงุดหงิดได้ง่าย เป็นต้น


มีวิธีใดที่ทำให้เราแก่ช้าลง?


วิธีที่จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยของร่างกายคงจะมีแต่การเริ่มดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนหนุ่มสาวก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมถอย ได้แก่ช่วงอายุ 25-30ปีดังที่กล่าวได้แล้วในข้างต้น ในการดูแลสุขภาพนั้นต้องดูแลทั้งจากภายนอก ภายใน และสภาพแวดล้อม ทำจิตใจให้แจ่มใส ดูแลอาหารการกินที่มีประโยชน์และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายให้ยืดออกไปได้ไป

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือการระวังรักษาสุขภาพเมื่อยามสูงวัย นอกจากต้องดูแลรักษาสุขภาพ อย่างต่อเนื่องแล้ว สิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่งคือต้องระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะการล้ม


การล้ม มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเสมอเนื่องจากตาที่มองไม่ชัด กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลง และการทรงตัวที่ไม่ค่อยมั่นคงนัก ที่ต้องระวังการล้มในผู้สูงวัยนั้นเนื่องจากกระดูกของผู้สูงวัยจะเปราะแตกหักได้ง่าย หากล้มแล้วกระดูกหัก ผู้สูงวัยจะไม่ยอมขยับตัวเนื่องจากอาการปวด กระดูกเชื่อมติดได้ยาก ในรายที่เป็นเบาหวานแผลก็จะหายช้า ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายทั้งจากแผลผ่าตัด และทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเป็นลูกโซ่ทั้งตัวผู้สูงวัยเองและผู้ดูแล ดังนั้นการระวังล้มจึงสำคัญอย่างมาก




ป้องกันการล้ม ทำอย่างไร?


การระวังล้มสามารถทำได้โดยการระมัดระวังและมีสติ ในรายที่การทรงตัวดี กล้ามเนื้อแข็งแรงอาจจะ ใช้วิธีเกาะจับวัตถุที่มั่นคง ในรายที่ การทรงตัวที่ไม่ดี แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า วอคเกอร์ หรือ มีคนช่วยประคองโดยให้ผู้สูงวัยเกาะบริเวณแขนส่วนบน ไม่แนะนำให้จูงมือเนื่องจากหากล้มจะทำให้แขนบิด เสี่ยงต่อการที่กระดูกข้อมือและแขนสูง

อีกสิ่งที่สามารถทำได้คือการจัดสภาพแวดล้อมให้มีความมั่นคงเช่นแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ มีราวจับ ที่มั่นคง กระเบื้องที่ใช้มีพื้นผิวที่หยาบ จัดแสงสว่างให้เพียงพอต่อการมองเห็น เป็นต้น

คนเราทุกคนล้วนต้องพบเจอกับเหตุการณ์ของ การเกิด แก่ เจ็บ ตายกันทั้งนั้น ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการ รับมือกับเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน หากยอมรับและเตรียมพร้อมไว้ ผมเชื่อเหลือเกินว่าทุกท่านจะเป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรงและมีคุณค่าในตนเอง ต่อลูกหลานและคนรอบตัวอย่างแน่นอนครับ




ท่านใดที่กำลังสงสัยว่ามีความเสี่ยงในการล้ม หรือมีปัญหาความเสื่อมของร่างกาย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวเเละการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถปรึกษากับทางนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจประเมินเเละวางแผนการรักษาอาการต่างๆได้


ต้องการติดต่อสอบถาม คลิก

โทรศัพท์ติดต่อ : 
สาขาสิรินธร 
 02-434-4111
สาขาเหม่งจ๋าย 
 02-274-4471
สาขาอุดมสุข
 02-175-4944
ซีเนียร์กันยาโฮมแคร์  080-576-3334
สาขาประชาชื่น  02-591-5915
สาขาพญาไท  080-575-1108
สาขาเจริญราษฎร์  02-288-0110
สาขาเพชรเกษม  080-581-6222
สาขามีนบุรี  095-045-2496
สาขานครอินทร์  080-596-5875

Line Official : @Kanyaptclinic


บทความโดย
กภ. กิตติพงษ์ สวัสดิ์ประทานชัย
นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สาขาเหม่งจ๋าย